O3กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายที่ประชาชนควรรู้

Powered By EmbedPress

ข้อมูลกฎหมายที่มีการบังคับใช้ของสถานีตำรวจ

  1. กฎหมายในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2565
  3. ประมวลกฎหมายอาญา
  4. ประมวลกฎวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
  5. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  6. ประมวลกฎหมายยาเสพติด
  7. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๘)
  8. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖)
  9. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  10. พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

คู่มือ

  1. คู่มือการฝึกพระราชทาน พ.ศ. 2560

เอกสารเกี่ยวกับงานธุรการและกำลังพล

  1. ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ

แนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย

– สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาพ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559

1. หน้าที่ พงส. ต้องสิทธิ ตาม “มาตรา 6/1 ในคดีที่มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้เสียหายหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มาร้องทุกข์ ดังกล่าวทราบถึงสิทธิการได้รับค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัตินี้…”
2. สิทธิของจำเลย ตามมาตรา 20 จำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง
         (1) เป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ
         (2) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี และ
         (3) ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดในคดีที่มีจำเลยหลายคนจำเลยคนใดถึงแก่ความตายก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดและ คณะกรรมการเห็นสมควรจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี จำเลยที่ถึงแก่ความตายนั้นมีสิทธิได้รับคำทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ได้ด้วย

สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาชั้นสอบสวน 
(1) สิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1)
(2) สิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(3)  สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติตามสมควร
(4) สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
(5) สิทธิได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้จับว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิ  ตามข้อ 1 ถึง 4
(6) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนโดยเร็ว และได้รับทราบการแจ้งสิทธิต่างๆ จากพนักงานสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา 134)
(7) สิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของผู้ต้องหา (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/3)
(8) สิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4)
(9) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญาเพื่อให้การ (ป.วิ.อาญา มาตรา 135)
(10) สิทธิของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนที่จะได้รับการสอบสวนคดีบางประเภทโดยมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการและทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/2)
(11) สิทธิที่จะได้รับการประกันตัว (ป.วิ.อาญา มาตรา 84/ 1, 106)
(12) สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวหากมีการควบคุมตัวโดยมิชอบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 90)
(13) สิทธิได้รับการจัดหาทนายกรณีคดีมีอัตราโทษประหารชีวิต หรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปี และในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกหากผู้ต้องหาไม่มีทนายและต้องการทนาย พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1)
(14) สิทธิที่จะได้รับแจ้งถึงพฤติการณ์ และการกระทำที่ถูกกล่าวหา ก่อนการถูกแจ้งข้อกล่าวหา (ป.วิ.อาญา มาตรา 134)
(15) สิทธิได้รับการจัดหาล่าม (ป.วิ.อาญา มาตรา 13)